หน้าฝนที่มาพร้อมอากาศชื้นและแหล่งน้ำขัง กลายเป็นช่วงเวลาที่โรคติดต่อแพร่กระจายได้ง่ายโดยไม่รู้ตัว เหล่ากู๊ดดี้หลายคนอาจคิดว่าแค่พกร่มก็พอ แต่จริง ๆ แล้วต้องเตรียมตัวให้ดีกว่านั้น เพราะโรคที่มากับหน้าฝนมักลอบเข้ามาเงียบ ๆ แล้วเล่นงานร่างกายแบบไม่ทันตั้งตัว บทความนี้รวบรวม 7 โรคที่มากับฤดูฝนที่พบบ่อย พร้อมสาเหตุ อาการ และวิธีป้องกัน ช่วยให้เหล่ากู๊ดดี้ดูแลตัวเองและคนรอบข้างได้แบบไม่ต้องลุ้นว่าจะป่วยไหม
ช่วงหน้าฝนเป็นช่วงที่โรคระบาดหน้าฝนหลายชนิดแพร่กระจายง่ายขึ้น เรามาดูกันว่ามีโรคอะไรบ้างที่ต้องระวัง
โรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza) คือโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza Virus) แบ่งออกเป็น 3 สายพันธุ์หลัก ได้แก่ A, B และ C พบได้ในทุกช่วงวัย แต่กลุ่มเสี่ยงที่มักติดเชื้อง่ายคือเด็กเล็ก โดยเฉพาะช่วงหน้าฝนและฤดูหนาวที่เชื้อแพร่กระจายได้ง่ายกว่าปกติ
โรคที่มากับฤดูฝนนี้เกิดจากเชื้ออินฟลูเอนซาไวรัส ซึ่งติดต่อผ่านทางละอองฝอยจากการไอหรือจาม รวมถึงการสัมผัสน้ำลาย น้ำมูกของผู้ป่วย แล้วเผลอนำไปแตะจมูก ปาก หรือดวงตา
ไข้ขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว รู้สึกเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว หนาวสั่น ไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล ตาแดง และบางรายอาจมีอาการปวดศีรษะร่วมด้วย
โรคต่อมทอนซิลอักเสบ (Tonsillitis) เป็นอีกหนึ่งโรคที่มากับหน้าฝน เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรียที่ต่อมทอนซิล ซึ่งเป็นต่อม 2 ต่อม มีลักษณะเป็นวงรี อยู่ตรงด้านในลำคอ มักพบการระบาดในช่วงอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่
เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งเรียกว่า สเตร็ปโตคอกคัส (ชนิดเอ) ติดต่อผ่านละอองน้ำลายจากการไอ จาม หรือการใช้ของส่วนตัวร่วมกัน
เจ็บคอมาก กลืนลำบาก มีไข้ ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอโต ทอนซิลบวมแดง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยเนื้อตัว
โรคไข้เลือดออก (Dengue Hemorrhagic Fever) เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue virus) ซึ่งมียุงลายเป็นพาหะนำโรค เป็นโรคระบาดหน้าฝนที่มีช่วงระบาดสูงสุดในเดือนกรกฎาคมของทุกปี พบได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่
เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี ซึ่งมีทั้งหมด 4 สายพันธุ์ โดยมียุงลายตัวเมียเป็นพาหะ เมื่อกัดและดูดเลือดจากผู้ที่มีเชื้อในร่างกาย จะสามารถแพร่เชื้อไปยังคนอื่นได้ผ่านการกัดครั้งถัดไป
มีไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและข้อต่อ มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง คลื่นไส้ อาเจียน อาจมีอาการปวดท้อง เบื่ออาหาร บางรายอาจมีภาวะช็อกและเสียชีวิตได้
โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (Acute Diarrhea) โรคที่มากับฤดูฝน ซึ่งเกิดจากการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค ทำให้เกิดการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร ส่งผลให้ถ่ายเหลวบ่อยกว่าปกติ โดยอาจมีอาการร่วม เช่น ปวดท้อง คลื่นไส้ หรืออ่อนเพลีย ซึ่งอาการท้องเสียจะเกิดขึ้นระยะเวลาไม่เกิน 2 สัปดาห์
เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือปรสิต ที่ปนเปื้อนในอาหารหรือน้ำ เช่น อาหารที่ไม่ปรุงสุก อาหารค้างคืน หรือน้ำที่ไม่สะอาด รวมถึงการไม่ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหาร
ถ่ายเหลว 3 ครั้งขึ้นไปภายใน 24 ชม. อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน มีไข้ อ่อนเพลีย และอาการของการขาดน้ำ ได้แก่ ปากแห้ง เวียนหัว หน้ามืด เป็นลม ชีพจรเต้นเร็ว
โรคฉี่หนู (Leptospirosis) เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนที่มักระบาดช่วงฤดูฝน เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเลปโตสไปรา (Leptospira) ซึ่งสามารถพบได้ในปัสสาวะของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดยเฉพาะหนู ซึ่งเป็นพาหะหลัก เมื่อมีน้ำท่วม เชื้อที่ปนเปื้อนในน้ำหรือดินสามารถเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ผ่านทางบาดแผล ผิวหนังที่มีรอยถลอก หรือเยื่อบุ เช่น ตา จมูก ปาก การใช้ชีวิตหรือทำงานในพื้นที่เสี่ยง เช่น การเก็บขยะ เกษตรกรรม หรือลุยน้ำท่วม จึงมีโอกาสติดเชื้อได้สูง
เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเลปโตสไปรา (Leptospira) ซึ่งอยู่ในปัสสาวะของสัตว์หลายชนิด เช่น หนู สุกร โค กระบือ แล้วปะปนมากับน้ำท่วมขัง ดินโคลน โดยเชื้อสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทางบาดแผล รอยถลอก หรือเยื่อบุตา จมูก ปาก
มีไข้สูงกะทันหัน ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ อาเจียน ต่อมน้ำเหลืองโต ในรายที่มีอาการรุนแรง อาจตัวเหลือง ตาเหลือง ไตวาย อาเจียนเป็นเลือด ไอเป็นเลือด อุจจาระเป็นสีดำ
โรคตาแดง (Conjunctivitis) เป็นภาวะที่เยื่อบุตาขาวเกิดการอักเสบ ทำให้เกิดอาการตาแดง ระคายเคือง มีน้ำตาไหล และอาจมีขี้ตามาก เชื้อที่ทำให้เกิดโรคนี้มีทั้งไวรัสและแบคทีเรีย ถือเป็นโรคติดต่อหน้าฝนที่แพร่กระจายได้ง่ายมาก โดยเฉพาะในสถานที่ที่มีผู้คนอยู่รวมกันมาก เช่น โรงเรียน โรงงาน หรือสำนักงาน
เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย ซึ่งติดต่อทางการสัมผัสสารคัดหลั่ง เช่น ทางมือ หรือการใช้ของส่วนตัวร่วมกัน เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว หรือเครื่องสำอาง
ตาแดง คันตา รู้สึกเหมือนมีสิ่งแปลกปลอมในตา มีขี้ตามาก น้ำตาไหล
โรคมือ เท้า ปาก (Hand, Foot and Mouth Disease – HFMD) เป็นโรคติดต่อที่พบได้บ่อยในเด็ก ยิ่งในช่วงหน้าฝนที่เชื้อไวรัสสามารถแพร่กระจายได้ง่าย สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่มเอนเทอโรไวรัส (Enteroviruses) เช่น Coxsackievirus A16 หรือ Enterovirus 71 ซึ่งสามารถแพร่เชื้อได้ง่ายผ่านน้ำลาย น้ำมูก อุจจาระ หรือการสัมผัสสิ่งของที่ปนเปื้อน
เกิดจากการติดเชื้อไวรัสกลุ่มเอนเทอโรไวรัส (Enteroviruses) โดยติดต่อผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่ง เช่น น้ำลาย น้ำมูก อุจจาระของผู้ป่วย หรือการหายใจเอาละอองฝอยที่มีเชื้อจากผู้ป่วยเข้าไป
มีไข้ เจ็บคอ ไม่อยากอาหาร มีตุ่มน้ำใสหรือแผลเล็ก ๆ ที่มือ เท้า และปาก โดยอาการจะดีขึ้นภายใน 7-10 วัน
นอกจากการป้องกันโรคติดต่อหน้าฝนแต่ละชนิดแล้ว การดูแลตัวเองอย่างรอบด้านจะช่วยเสริมภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงในการป่วย
โรคที่มากับหน้าฝนคงสร้างความกังวลไม่น้อย การเตรียมตัวป้องกันไว้ล่วงหน้าจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด แต่ถึงแม้จะระมัดระวังแค่ไหน บางครั้งอาการเจ็บป่วยก็เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่อาจสูงจนเป็นภาระ การทำประกันสุขภาพดี ๆ สักฉบับไว้เป็นหลักประกัน จะช่วยให้เหล่ากู๊ดดี้เข้าถึงการรักษาพยาบาลที่ดีที่สุดได้อย่างทันท่วงที โดยไม่ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้น ทีนี้เหล่ากู๊ดดี้ก็พร้อมลุยหน้าฝนนี้แบบสตรองสุด ๆ แล้ว!
ที่มา : โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์, โรงพยาบาลเปาโล และ รามา แชนแนล