พ.ร.บ. รถยนต์คุ้มครองอะไรบ้าง จำเป็นแค่ไหน มาดูกัน

752 คน
แชร์
พ.ร.บ. รถยนต์ จำเป็นแค่ไหน คุ้มครองอะไรบ้าง

ผู้ขับขี่ทุกคนน่าจะคุ้นเคยกันดีกับ พ.ร.บ. รถยนต์ เพราะเป็นเหมือนกับประกันที่รถทุกคันต้องมี แต่สำหรับผู้ขับขี่หน้าใหม่อาจยังไม่รู้ว่าจริงๆ แล้ว พ.ร.บ. รถยนต์คุ้มครองอะไรบ้าง มีขั้นตอนการเบิกจ่ายค่าสินไหมทดแทนยังไง วันนี้ heygoody พาไปดูกันแบบชัดๆ ตอบทุกคำถามเกี่ยวกับ พ.ร.บ. รถยนต์ในบทความนี้

พ.ร.บ. รถยนต์คืออะไร? ต้องทำมั้ย?

พ.ร.บ. รถยนต์ย่อมาจาก “พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถยนต์” ตามกฎหมายแล้ว รถทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกต้องทำเอาไว้ เหมือนเป็นประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับทางกฎหมาย จุดประสงค์ของ พ.ร.บ. เป็นหลักประกันให้กับผู้ขับขี่และผู้ใช้รถใช้ถนนเมื่อเกิดอุบัติเหตุต่างๆ ขึ้น โดยเงินที่นำมาจ่ายค่าสินไหมทดแทนของ พ.ร.บ. ก็มาจากเงินกองกลางที่รถทุกคันจ่ายค่า พ.ร.บ. ไว้

นอกจากนี้ ผู้ขับขี่ต้องต่ออายุ พ.ร.บ. ทุกปี และควรทำก่อนจะหมดอายุสัก 1-3 เดือน โดยเฉพาะเวลาไปต่อภาษีรถยนต์ต้องตรวจสอบให้ดีว่า พ.ร.บ. ของเราหมดอายุแล้วหรือยัง เพราะต้องใช้เป็นเอกสารสำหรับการต่อภาษีรถยนต์ด้วย 

พ.ร.บ. รถยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง?

พ.ร.บ. รถยนต์คุ้มครองอะไรบ้าง

เมื่อ พ.ร.บ. รถยนต์เป็นประกันภัยภาคบังคับ แน่นอนว่าย่อมมาพร้อมกับความคุ้มครอง โดยเน้นไปที่ความคุ้มครองขั้นพื้นฐาน เช่น ค่ารักษาพยาบาล เงินชดเชยในกรณีต่างๆ แต่ไม่มีความคุ้มครองเกี่ยวกับความเสียหายต่อรถยนต์ ไม่มีการประกันตัวในคดีอาญา และบริการช่วยเหลือเหมือนการทำประกันกับบริษัทประกัน แต่มีความคุ้มครองดังนี้

1. ค่าเสียหายเบื้องต้น 

ถ้าเกิดอุบัติเหตุ พ.ร.บ. จะคุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้นทันที ไม่ต้องรอพิสูจน์ว่าใครเป็นฝ่ายถูกหรือผิด ค่าเสียหายเบื้องต้นที่ พ.ร.บ. จ่าย ได้แก่ 

  • เงินค่ารักษาพยาบาลกรณีได้รับบาดเจ็บ จ่ายตามค่ารักษาจริงสูงสุดไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน
  • กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวร พ.ร.บ. จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น 35,000 บาทต่อคน
  • กรณีเสียชีวิตหลังจากเข้ารับการรักษาแล้ว พ.ร.บ. จ่ายค่ารักษาพยาบาลตามจริงไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน
  • ในกรณีเสียชีวิตทันทีในที่เกิดเหตุ มีค่าปลงศพให้ในกรณีเสียชีวิตเป็นจำนวน 35,000 บาทต่อคน

2. ค่าเสียหายส่วนเกิน

ในกรณีพิสูจน์ความผิดแล้วพบว่า ผู้เอาประกันเป็นฝ่ายผิด พ.ร.บ. มีค่าเสียหายส่วนเกินให้ผู้เสียหายดังนี้

  • จ่ายค่ารักษาในกรณีบาดเจ็บ รวมค่าสินไหมทดแทนไม่เกิน 80,000 บาท
  • ถ้าเสียชีวิต ทุพพลภาพหรือสูญเสียอวัยวะมีเงินชดเชยให้ทั้งหมด 300,000 บาท รวมค่ารักษาพยาบาล

3. ค่าสินไหมทดแทน

ถ้าทำการพิสูจน์ความผิดแล้วพบว่าผู้เอาประกันเป็นฝ่ายถูก ผู้เอาประกันสามารถเบิกเพิ่มเติมได้ตามรายการต่อไปนี้

  • เบิกค่ารักษาพยาบาลตามจริง ได้สูงสุดคนละ 80,000 บาท
  • ถ้าเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวร ได้ค่าสินไหมทดแทนคนละ 500,000 บาท
  • ถ้าสูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน ได้รับเงินชดเชยคนละ 250,000 บาท
  • สูญเสียอวัยวะ 2 ส่วน ได้รับเงินชดเชยคนละ 500,000 บาท
  • สูญเสียนิ้วตั้งแต่หนึ่งนิ้วขึ้นไป ได้รับค่าสินไหมทดแทนเป็นจำนวน 200,000 บาท
  • ทุพพลภาพและไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ได้รับเงินชดเชยคนละ 300,000 บาท
  • มีเงินชดเชยให้กรณีนอนรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน เป็นเงินวันละ 200 บาท ไม่เกิน 20 วัน

สรุปได้ง่ายๆ ว่าถ้าเราเป็นฝ่ายผิด เราเบิกได้แค่ค่าเสียหายเบื้องต้นจาก พ.ร.บ. เท่านั้น แต่ถ้าเราเป็นฝ่ายถูก สามารถเบิกค่าชดเชยในส่วนอื่นๆ เพิ่มเติมได้เลย เป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้ผู้ขับขี่ส่วนใหญ่เลือกทำประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจเอาไว้ด้วย เพราะมีความคุ้มครองทั้งความเสียหายต่อรถยนต์ บุคคลภายนอกและทรัพย์สินด้วย

เบิก พ.ร.บ. ใช้เอกสารอะไรบ้าง

เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นและต้องการเบิกค่าใช้จ่ายจาก พ.ร.บ. มีการใช้เอกสารที่แยกออกตามแต่ละกรณีอย่างชัดเจน โดยสามารถยื่นเอกสารเหล่านี้เพื่อขอรับเงินชดเชยได้ที่ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ในทุกจังหวัดทั่วประเทศไทยภายใน 180 วันหลังเกิดเหตุ

กรณีทั่วไป

  • สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประสบภัย (ถ้าอายุไม่ถึง 15 ปี ให้ใช้ใบแจ้งเกิดแทน)
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • สำเนาทะเบียนรถคันเกิดเหตุ
  • สำเนาใบขับขี่ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (ในกรณีผู้ประสบภัยเป็นผู้ขับรถเอง)
  • ใบแจ้งความ หรือบันทึกประจำวัน
  • สำเนาใบกรมธรรม์ พ.ร.บ. รถยนต์

กรณีได้รับบาดเจ็บ

ถ้ามีการบาดเจ็บ และต้องรักษาตัวในสถานพยาบาล เลือกใช้รูปประโยคอันใดอันหนึ่ง ที่มีเนื้อความเหมือนกันต้องเตรียมเอกสารเพิ่มเติม คือ

  • สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทางของผู้ประสบภัย
  • ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล

กรณีเบิกค่ารักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยใน

ถ้าเป็นผู้ป่วยใน พ.ร.บ. มีเงินชดเชยให้วันละ 200 บาทด้วย ต้องใช้เอกสารเพิ่มเติม คือ

  • สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทางของผู้ประสบภัย
  • ใบรับรองแพทย์ หรือหนังสือรับรองการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน

กรณีเสียชีวิต

  • สำเนาบัตรประชาชนผู้ประสบอุบัติเหตุ
  • ใบมรณบัตร
  • สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของทายาท
  • สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์

กรณีทุพพลภาพ

  • สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประสบอุบัติเหตุ
  • ใบรับรองแพทย์ และหนังสือรับรองความพิการ
  • สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน หรือหลักฐานอื่นแสดงว่าผู้นั้นได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์

วิธีเบิก พ.ร.บ. รถยนต์

หลังจากเกิดอุบัติเหตุแล้ว ผู้ประสบภัยทำเรื่องเบิกเคลมจาก พ.ร.บ. ได้ผ่านโรงพยาบาลที่เข้ารักษาตัว ติดต่อบริษัทที่ทำ พ.ร.บ. ไว้ หรือไปยื่นเอกสารได้ที่ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ภายใน 180 วัน ถ้าไม่สะดวก สามารถมอบอำนาจให้ญาติ บุตรหรือคู่สมรสทำแทนได้

  1. แจ้งความลงบันทึกประจำวันเกี่ยวกับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น และนำใบดังกล่าวมาใช้ในการส่งเบิก พ.ร.บ.
  2. รวบรวมเอกสารทางการแพทย์จำเป็นตามที่กำหนดเอาไว้ เช่น ใบรับรองแพทย์ ใบเสร็จค่ารักษา
  3. รวบรวมเอกสารจำเป็นอื่นๆ ที่ต้องใช้ในการเบิก พ.ร.บ.
  4. นำเอกสารไปยื่นผ่านโรงพยาบาลบริษัทที่ทำ พ.ร.บ. ไว้ หรือยื่นที่บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ทุกสาขาทั่วประเทศ
  5. โดยปกติแล้ว พ.ร.บ. จะจ่ายค่าเสียหายภายใน 7 วัน

กรณีไหนอีกที่เบิกค่าเสียหายจาก พ.ร.บ. ได้

นอกจากกรณีการเกิดอุบัติเหตุทั่วไปที่เบิกค่าเสียหายกับ พ.ร.บ. ได้แล้ว ยังมีกรณีอุบัติเหตุเหล่านี้ที่สามารถทำเรื่องเบิกค่าเสียหายเบื้องต้นเป็นจำนวน 30,000 บาทได้

  • กรณีชนแล้วหนี ตามตัวคู่กรณีไม่ได้
  • เกิดอุบัติเหตุแล้วผู้ขับขี่ไม่ยอมจ่ายค่าเสียหาย และไม่มีประกันภัยอื่นๆ
  • บริษัทประกันภัยไม่จ่ายค่าเสียหาย หรือจ่ายไม่ครบ

ทำไมต้องต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ทุกปี

อย่างที่ได้บอกเอาไว้ตั้งแต่ช่วงแรกของบทความว่าผู้ขับขี่ต้องต่อ พ.ร.บ. รถยนต์เป็นประจำทุกปี เพราะว่าเป็นประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับที่ผู้ขับขี่ต้องทำเอาไว้ ถ้าไม่ต่ออายุ พ.ร.บ. จะจ่ายภาษีรถยนต์ไม่ได้ ทำให้กลายเป็นรถยนต์ไม่ได้เสียภาษีและมีความผิดตามกฎหมาย

พ.ร.บ. รถยนต์กับภาษีรถยนต์

ผู้ขับขี่หน้าใหม่อาจยังสับสนว่า พ.ร.บ. กับภาษีต่างกันยังไง heygoody ขอสรุปสั้นๆ ให้อ่านเข้าใจง่าย

  • พ.ร.บ. รถยนต์ คือประกันภาคบังคับที่ต้องทำ ช่วยชำระค่าเสียหายเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
  • ภาษีรถยนต์เรียกอีกอย่างว่า การต่อทะเบียนรถยนต์ เป็นเหมือนกันการจ่ายภาษีในการขับขี่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะนำเงินตรงนี้ไปพัฒนาถนนหนทางและการคมนาคมต่อไป

แต่สิ่งที่เหมือนกันของทั้งสองอย่างนี้คือ ต้องจ่ายเงินเพื่อต่ออายุเป็นประจำทุกปีตามกฎหมายกำหนด

ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ ซื้อไว้อุ่นใจกว่า

ถึงแม้ว่า พ.ร.บ. รถยนต์จะช่วยดูแลในส่วนของความเสียหายที่เกิดกับบุคคล แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าค่าซ่อมรถเวลาเกิดอุบัติเหตุแต่ละทีทำเอาเช็ดเหงื่อเหมือนกัน heygoody แนะนำว่าผู้ขับขี่ควรทำประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจเอาไว้ เพราะนอกจากช่วยดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายแล้ว ยังมีความคุ้มครองความเสียหายที่มีต่อรถยนต์ด้วย

ถ้าไม่รู้ว่าจะเริ่มมองหาประกันภัยรถยนต์ที่ถูกใจยังไง ลองแวะเข้ามาเลือกดูประกันจาก heygoody ก่อนได้ เราเป็นศูนย์รวมประกันจากหลายบริษัท มีหลากหลายรูปแบบให้เลือกซื้อ เปรียบเทียบราคาได้ ซื้อประกันแบบไม่ต้องผ่านคนกลาง ไม่ยุ่งยาก จ่ายเงินก็สะดวก แถมยังผ่อนชำระได้ 0% สูงสุด 10 เดือนด้วยนะ ดีลดีๆ แบบนี้ไม่ได้หาง่ายๆ แวะเข้ามาเลือกดูกันก่อนได้เลย!

แชร์
ไปเลือกประกันรถยนต์กัน!
แค่กรอกข้อมูลง่าย ๆ แล้วให้ heygoody เสนอแผนที่เหมาะกับคุณ
เช็คราคาเบี้ย
ไปเลือกประกันรถยนต์กัน!
แค่กรอกข้อมูลง่าย ๆ แล้วให้ heygoody เสนอแผนที่เหมาะกับคุณ
เช็คราคาเบี้ย
แชร์
แชร์
chevron-down