หน้าหลัก
สาระประกันดี
บทความไลฟ์สไตล์

รู้จักกับออฟฟิศซินโดรม ภาวะเสี่ยงของคนวัยทำงาน

490 คน
แชร์
รู้จักกับออฟฟิศซินโดรมภาวะเสี่ยงของคนวัยทำงาน

พนักงานออฟฟิศต้องนั่งทำงานอย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง ต้องจดจ่อกับงานในชนิด ไม่ได้ยืนหรือลุกเดินไปไหนเลย กว่าจะได้ยืดเส้นก็หมดวันแล้ว สิ่งที่พนักงานออฟฟิศส่วนใหญ่พบเจอประจำคือความเมื่อยล้า ความตึงของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะคอ บ่า ไหล่ รวมไปถึงความเมื่อยจากการนั่งดูจอคอมพิวเตอร์ทั้งวันแบบไม่ถูกตามหลักการยศาสตร์ (ergonomics) อาการเหล่านี้คือสัญญาณเตือนของภาวะ “ออฟฟิศซินโดรม” เพื่อให้เหล่ามนุษย์เงินเดือนทั้งหน้าใหม่รุ่นเก๋าได้เข้าใจในภาวะกำลังรับมือ heygoody ขออาสาอธิบายที่มาที่ไปของออฟฟิศซินโดรมว่าคืออะไร เกิดจากอะไร ให้คนที่ยังไม่เป็นป้องกันตัวเองยังไงบ้าง

ออฟฟิศซินโดรมคืออะไร

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) คือ ภาวะอาการปวดกล้ามเนื้อ เยื่อพังผืด มีอาการชาของปลายเส้นประสาทร่วมด้วย เกิดจากรูปแบบการทำงานของกล้ามเนื้อทำงานซ้ำอยู่จุดเดิมไม่เปลี่ยนอิริยาบถ ส่งผลให้กล้ามเนื้อบริเวณ คอ บ่า ไหล หลัง แขน และขา เกิดการอักเสบและปวดเมื่อย บางรายอาจถึงขั้นปวดเมื่อยเรื้อรังเพราะไม่รู้ตัวเองว่ากำลังนั่งแช่ด้วยอิริยาบถเดียวมานานหลายชั่วโมง จนกลายเป็นภาวะออฟฟิศซินโดรมในที่สุด

ใครบ้างเสี่ยงต่อภาวะออฟฟิศซินโดรม

ผู้ที่เสี่ยงต่อภาวะออฟฟิศซินโดรมตรงตามชื่อเลยคือ กลุ่มพนักงานออฟฟิศเป็นหลัก พฤติกรรมส่วนใหญ่ของคนทำงานด้วยคอมพิวเตอร์เป็นหลัก ต้องนั่งอยู่มุมเดิม ๆ ท่าเดียวทั้งวันเฉลี่ยวันละ 8 ชั่วโมง ยังไม่รวมกับบางวันที่ต้องทำ OT นั่งประชุมจนเลยเวลาเลิกงานอีกนับไม่ถ้วน กลุ่มรองลงมาคือนักศึกษาเป็นออฟฟิศซินโดรมได้ตั้งแต่วัย 20 เพราะช่วงวัยนี้ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อศึกษาและทำรายงานไม่ต่างกับพนักงานออฟฟิศ เป็นข้อพิสูจน์ว่าออฟฟิศซินโดรมไม่ได้จำกัดแค่กลุ่มพนักงานออฟฟิศเท่านั้น แค่มีพฤติกรรมต้องขลุกอยู่กับคอมพิวเตอร์ในอิริยาบถเดิมเป็นประจำเสี่ยงต่อภาวะนี้ได้หมด

อาการที่บอกว่านี่คือออฟฟิศซินโดรม

อาการบ่งชี้ว่านี่คือออฟฟิศซินโดรม

อาการออฟฟิศซินโดรมเกิดขึ้นได้ทั่วร่างกาย ส่วนใหญ่เป็นจุดเคลื่อนไหวน้อย ถูกใช้งานซ้ำเป็นเวลานาน โดยอาการออฟฟิศซินโดรมที่พบเจอจากคนส่วนใหญ่ มีดังนี้

1. ปวดแบบเฉพาะจุดโดยเฉพาะ คอ บ่า ไหล่

เป็นอาการปวดตึงบริเวณ คอ บ่า ไหล่ แบบรวม ๆ กัน เพราะเป็นส่วนกล้ามเนื้อเชื่อมต่อกันหมด เมื่อปวดเมื่อยแบบเรื้อรังอาจลุกลามไปสู่ภาวะกล้ามเนื้อกดทับเส้นประสาท ทำให้ปวดรุนแรงร้าวลงแขนและมีอาการชาร่วมด้วย

2. ปวดหลังแบบเรื้อรัง

อาการปวดหลังเริ่มแรกจะรู้สึกเมื่อยตั้งแต่ต้นคอลงมาถึงกลางหลัง บางคนอาการลุกลามไปจนไปถึงบริเวณกระดูกก้นกบ เกิดจากการเกร็งนาน ๆ ไม่ใช่แค่นั่งนานเท่านั้น คนยืนนานและใส่รองเท้าส้นสูงก็มีปัญหากล้ามเนื้อหลังส่วนล่างเกร็งตัวด้วย

3. ปวดและเป็นเหน็บชาที่ขา

ขาเป็นส่วนรองรับน้ำหนักจากการนั่งโดยตรง ทำให้เส้นเลือดดำถูกกดทับส่งผลต่อระบบไหลเวียนเลือดผิดปกติ ส่วนใหญ่จะรู้สึกชาตั้งแต่ช่วงต้นขาลงมาเวลาลุกยืนเหมือนไม่ค่อยมีแรงเดิน

อาการบ่งชี้ว่านี่คือออฟฟิศซินโดรม

4. ปวดมือ มือชาและนิ้วล็อก

คนที่พิมพ์คอมพิวเตอร์และจับเมาส์ทั้งวัน มักมีอาการปวดชาฝ่ามือและนิ้วมือ เป็นผลมาจากกล้ามเนื้อกดทับเส้นประสาทและเส้นเอ็นจนอักเสบ ส่วนอาการนิ้วล็อกเป็นภาวะเกิดพังผืดตามข้อต่อส่งผลต่อปลายประสาท จนนิ้วและข้อมือขยับได้ไม่เต็มที่

5. ปวดหัว

อาการปวดหัวเกิดขึ้นได้จากทั้งความเครียดสะสมในระหว่างวัน อาการปวดตาจากการจ้องคอมนาน ๆ เกิดจากอาการปวดกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ ทำให้เลือดไหลไปเลี้ยงส่วนหัวได้ไม่ดีและหนักสุดอาจถึงขั้นปวดหัวไมเกรนได้เลย

6. ปวดตาและตาพร่ามัว

เป็นอาการที่เกิดจากการจ้องจอคอมและสมาร์ตโฟนนานเกินไปทำให้กล้ามเนื้อตาล้าและตาแห้ง เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา เช่น สายตาพร่ามัว ระคายเคืองตา ตาสู้แสงไม่ได้ โฟกัสภาพได้ช้าลง ที่สำคัญอาการปวดตาจากออฟฟิศซินโดรมอาจลุกลามกลายเป็นโรควุ้นในตาเสื่อม โรคต้อลม และโรคต้อหินได้ในอนาคต 

แนวทางการป้องกันออฟฟิศซินโดรมเรื้อรัง

แม้ว่าออฟฟิศซินโดรมเกิดจากการนั่งทำงานนาน ๆ แต่ใช่ว่าเราต้องนั่งจดจ่อท่าเดิมเสมอ เพราะมีวิธีป้องกันอยู่มากมายที่หลายคนอาจมองข้ามไป ทำได้ด้วยวิธีดังนี้เลย

1. ยืดเส้นบ่อย ๆ ไม่ควรนั่งท่าเดิมนานเกินไป

นั่งทำงานนาน ๆ ก็เมื่อยเป็นธรรมดา ถ้าให้ดีควรลุกขึ้นมายืน เดิน บิดขี้เกียจบ้าง เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อส่วนคอ บ่า ไหล่ หลัง และขาได้คลายตัว ทั้งยังทำให้ระบบไหลเวียนเลือดสูบฉีดได้ตามปกติไม่ถูกกดทับจากการนั่งนานเกินไป 

2. พยายามนั่งในอิริยาบถที่ถูกต้อง

ท่านั่งเป็นสิ่งสำคัญเพราะนอกจากทำให้กล้ามเนื้อเมื่อยล้าแล้ว ยังทำให้เสียบุคลิกในระยะยาวอีกด้วย ดังนั้นพยายามนั่งหลังตรงพยายามอย่านั่งไหล่ห่อ งอตัว ต้องนั่งให้เต็มก้นโดยให้ฝ่าเท่าเหยียบเต็มพื้นไม่ต้องเขย่ง ช่วยลดอาการปวดหลังได้ดี ทำให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ลดความเสี่ยงต่อไขข้อและหมอนรองกระดูกเสื่อมหรืออักเสบ

3. พักสายตาทุก 1 ชั่วโมง

ถ้ารู้ตัวว่านั่งจ้องคอมนาน ๆ ให้พักสายตาทุก 1 ชั่วโมง ลองออกไปมองอย่างอื่นเพื่อลดความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อตา ลดอาการปวดหัวได้ด้วย ขอแนะนำให้มองออกไปหาวิวสีเขียวอย่างต้นไม้ข้างตัว ยิ่งถ้าเป็นวิวสวนสาธารณะหรือต้นไม้ใหญ่ จะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายสบายตาได้มากขึ้น

4. ออกกำลังกายเป็นประจำ

สุดท้ายคือการออกกำลังกาย เป็นวิธีช่วยฟื้นคืนความเมื่อยล้าจากการทำงานได้ดี โดยเฉพาะกีฬาที่ได้ยืดเส้น เช่น การวิ่ง ปั่นจักรยาน เข้าฟิตเนส ว่ายน้ำ แบดมินตัน โยคะ เป็นต้น กิจกรรมเหล่านี้ช่วยให้กล้ามเนื้อได้คลายตัวลดอาการเกร็งได้ดี ลดความเสี่ยงต่ออาการเส้นเอ็นและข้อยึด ที่สำคัญช่วยคลายความเครียดได้ดี

หยุดออฟฟิศซินโดรมเริ่มต้นได้ที่ตัวคุณ

หยุดออฟฟิศซินโดรมเริ่มต้นได้ที่ตัวคุณ

ภาวะออฟฟิศซินโดรมป้องกันได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในระหว่างทำงาน แต่ก็เป็นวิธีช่วยบรรเทาอาการได้เท่านั้น เพราะไม่ว่ายังไงการนั่งทำงานนานถึง 8 ชั่วโมงต่อวัน ส่งผลกระทบต่อร่างกายโดยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ถ้ารู้ตัวว่ากำลังเผชิญกับภาวะนี้อย่ารอช้า เพราะออฟฟิศซินโดรมสามารถวางแผนการรักษาได้ควบคู่กับประกันสุขภาพได้ พร้อมสิทธิประโยชน์ครอบคลุมตลอดการรักษาไม่ว่าเป็น 

  • ไม่ต้องสำรองจ่ายก่อน
  • ค่ารักษาพยาบาล ตั้งแต่ตรวจวินิจฉัย, กายภาพบำบัด, ค่าอาหาร, ค่ายาและเวชภัณฑ์
  • ค่าผ่าตัดต่อปีกรมธรรม์ ครอบคลุมค่ารักษา, ค่าห้องผ่าตัด, ค่าผู้ประกอบวิชาชีพ
  • ค่าเวชศาสตร์ฟื้นฟู หลังการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในแต่ละครั้ง ภายใน 30 วัน
  • ครอบคลุมค่าใช้จ่ายเพื่อกายภาพบำบัดหลังรักษา
  • พร้อมดูแลหลังออกจากโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่องภายใน 30 วัน
  • กรณีผู้ป่วยนอกหรือ OPD ช่วยค่ารักษาพยาบาลเริ่มต้น 800 - 1,500 บาทต่อครั้ง

ใครกำลังมองหาแผนประกันสุขภาพที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ประจำวัน heygoody พร้อมให้ทุกคนเลือกได้กับแผนประกันจากบริษัทชั้นนำ เปรียบเทียบความคุ้มครอง ทุนประกัน สิทธิประโยชน์ได้ตามต้องการ สนใจประกันสุขภาพราคาพิเศษสอบถามกับ heygoody ได้เลย

แชร์
ไปเลือกประกันรถยนต์กัน!
แค่กรอกข้อมูลง่าย ๆ แล้วให้ heygoody เสนอแผนที่เหมาะกับคุณ
เช็คราคาเบี้ย
ไปเลือกประกันรถยนต์กัน!
แค่กรอกข้อมูลง่าย ๆ แล้วให้ heygoody เสนอแผนที่เหมาะกับคุณ
เช็คราคาเบี้ย
แชร์
แชร์
chevron-down