รถยนต์ไฟฟ้าเป็นนวัตกรรมที่ได้รับความนิยมจากทั่วโลกและในประเทศไทยไม่นาน ทำให้บริการอำนวยความสะดวกต่าง ๆ อาจยังไม่แพร่หลาย รวมถึงการคิดอัตราภาษีรถยนต์ไฟฟ้า EV ที่คนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจว่าทางภาครัฐมีมาตรการหรือวิธีคำนวณยังไงบ้าง เพราะอย่างรถสันดาปใช้กำลังเครื่องยนต์และน้ำหนักเป็นปัจจัยหลักของการคิดค่าภาษี แต่รถยนต์ไฟฟ้ามีแค่มอเตอร์และแบตเตอรี่ heygoody มีคำตอบ
กรณีของรถยนต์ไฟฟ้าคิดอัตราภาษีตามขนาดจุเครื่องยนต์แบบรถยนต์สันดาปไม่ได้ กรมการขนส่งทางบกเลยนำเงื่อนไขคิดอัตราภาษีรถยนต์ไฟฟ้าตามน้ำหนักมาใช้ และจูงใจประชาชนด้วยมาตรการลดค่าภาษีจากอัตราที่กฎหมายกำหนด 80% เป็นเวลา 1 ปี นับตั้งแต่วันที่จดทะเบียน โดยมีเงื่อนไขต้องเป็นรถไฟฟ้าที่จดทะเบียนในระหว่าง 9 พฤศจิกายน 2565 ถึง 10 พฤศจิกายน 2568 เท่านั้น
วิธีคิดภาษีรถยนต์ไฟฟ้าแบ่งออกไปเป็น 3 กลุ่มคือ รถยนต์ไฟฟ้านั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน, รถยนต์ไฟฟ้านั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน และมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า
น้ำหนักของรถ (กิโลกรัม) | อัตราภาษีปรับใหม่ (บาท) | อัตราภาษีเดิม (บาท) |
500 | 30 | 150 |
501-750 | 60 | 300 |
751-1,000 | 90 | 450 |
1,001-1,250 | 160 | 800 |
1,251-1,500 | 200 | 1,000 |
1,501-1,750 | 260 | 1,300 |
1,751-2,000 | 330 | 1,600 |
2,001-2,500 | 380 | 1,900 |
2,501-3,000 | 440 | 2,200 |
3,001-3,500 | 480 | 2,400 |
3,501-4,000 | 520 | 2,600 |
4,001-4,500 | 560 | 2,800 |
4,501-5,000 | 600 | 3,000 |
5,001-6,000 | 640 | 3,200 |
6,001-7,000 | 680 | 3,400 |
7,001 ขึ้นไป | 720 | 3,600 |
น้ำหนักของรถ (กิโลกรัม) | อัตราภาษีปรับใหม่ (บาท) | อัตราภาษีเดิม (บาท) |
500 | 15 | 75 |
501-750 | 30 | 150 |
751-1,000 | 45 | 225 |
1,001-1,250 | 80 | 400 |
1,251-1,500 | 100 | 500 |
1,501-1,750 | 130 | 650 |
1,751-2,000 | 160 | 800 |
2,001-2,500 | 190 | 950 |
2,501-3,000 | 220 | 1,100 |
3,001-3,500 | 240 | 1,200 |
3,501-4,000 | 260 | 1,300 |
4,001-4,500 | 280 | 1,400 |
4,501-5,000 | 300 | 1,500 |
5,001-6,000 | 320 | 1,600 |
6,001-7,000 | 340 | 1,700 |
7,001 ขึ้นไป | 360 | 1,800 |
รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าส่วนบุคคลและสาธารณะคิด 10 บาทเท่ากัน จากเดิมคิด 50 บาท
รถใช้น้ำมันทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ รถบรรทุก และรถจักรยาน ต้องเสียภาษีประจำปีเหมือนกันทั้งหมด โดยมีเกณฑ์การคิดอัตราภาษีจาก 3 ปัจจัยหลัก ดังนี้
วิธีคิดตามความจุเครื่องยนต์หรือขนาดซีซี ถูกบังคับใช้เฉพาะรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่งหรือรถเก๋ง เป็นรถยนต์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ยิ่งเครื่องยนต์มีขนาดจุหรือซีซีเยอะอัตราภาษีจะสูงตามไปด้วย โดยรถยนต์อายุระหว่าง 1-5 ปี คิดภาษีดังนี้
รถยนต์ที่มีอายุ 6 ปีขึ้นไปอัตราภาษีลดลงตามอายุ ดังนี้
การคิดภาษีรถแบบรายคัน ใช้กับรถจักรยานยนต์และรถที่ใช้งานเฉพาะทางเท่านั้น
การคิดภาษีตามน้ำหนักของรถบังคับใช้กับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด รถยนต์รับจ้าง และรถบรรทุกส่วนบุคคล คิดตามน้ำหนักเริ่มต้นที่ 500 กิโลกรัมถึง 7,000 กิโลกรัม
น้ำหนักของรถ (กิโลกรัม) | รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (บาท) | รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด (บาท) | รถยนต์รับจ้าง (บาท) |
500 | 150 | 450 | 185 |
501-750 | 300 | 750 | 310 |
751-1,000 | 450 | 1,050 | 450 |
1,001-1,250 | 800 | 1,350 | 560 |
1,251-1,500 | 1,000 | 1,650 | 685 |
1,501-1,750 | 1,300 | 2,100 | 875 |
1,751-2,000 | 1,600 | 2,550 | 1,060 |
2,001-2,500 | 1,900 | 3,000 | 1,250 |
2,501-3,000 | 2,200 | 3,450 | 1,435 |
3,001-3,500 | 2,400 | 3,900 | 1,625 |
3,501-4,000 | 2,600 | 4,350 | 1,810 |
4,001-4,500 | 2,800 | 4,800 | 2,000 |
4,501-5,000 | 3,000 | 5,250 | 2,185 |
5,001-6,000 | 3,200 | 5,700 | 2,375 |
6,001-7,000 | 3,400 | 6,150 | 2,560 |
7,001 ขึ้นไป | 3,600 | 6,600 | 2,750 |
นอกเหนือจากมาตรการลดอัตราภาษีรถยนต์ไฟฟ้า 80% เป็นระยะเวลา 1 ปี ล่าสุดรัฐบาลได้ผลักดันนโยบายอุดหนุนเงิน ลดภาษีนำเข้า และลดภาษีสรรพสามิตเพื่อผลักดันให้ประชาชนหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น เพราะอย่างที่ทุกคนรู้ดีว่าราคาสุทธิของรถไฟฟ้าสูงกว่ารถยนต์สันดาปพอสมควร เอาแค่รถขนาด B-Segment ขนาดพอ ๆ กัน แต่ราคาต่างกัน 2-3 แสนบาท โดยนโยบายจูงใจจากภาครัฐมีดังนี้
ผู้ใช้รถทุกคนทุกคันต้องเสียภาษีให้กับภาครัฐ เพื่อนำไปใช้ปรับปรุงถนนและอุปกรณ์จราจรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนั้น ผู้ขับขี่ต้องเคารพกฎจราจรอย่างเคร่งครัด คำนึงถึงความปลอดภัยของตัวเองและเพื่อนร่วมทางอยู่เสมอ และเพื่อความสบายใจตอนขับขี่ heygoody มีประกันรถยนต์ไฟฟ้าจากบริษัทชั้นนำให้เจ้าของรถไฟฟ้าเลือกได้ตามต้องการ ไม่ว่าจะเป็น BYD, Ora Good Cat, MG ZS ก็จัดได้หมด ครบจบทุกความคุ้มครองที่ต้องมี สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือจะลอง "เช็คเบี้ยรุ่นรถที่สนใจ" ก็ทำได้ง่าย ๆ ที่นี่
ที่มาของข้อมูล : กรมการขนส่งทางบก