ขับรถชนเสาไฟฟ้าและของหลวง ประกันจ่ายมั้ย?

214 คน
แชร์
ขับรถชนเสาไฟฟ้าและของหลวงประกันจ่ายมั้ย

อุบัติเหตุบนท้องถนนเกิดขึ้นได้ทุกที่ ประมาทนิดเดียวเกิดความเสียหายได้เสมอ ถ้าเราทำประกันรถยนต์เอาไว้ยังไงก็เบาใจได้ เพราะมีทุนประกันมาช่วยแบ่งเบาภาระได้อยู่แล้ว แต่ถ้าเราขับรถชนเสาไฟฟ้า หรือชนของหลวงชิ้นอื่น กรมธรรม์ที่เราซื้อไว้ช่วยได้รึเปล่า เพื่อให้ทุกคนเข้าใจสิทธิ์ของตัวเอง heygoody จะมาอธิบายให้ทุกคนฟัง เกี่ยวกับความคุ้มครองกรณีขับรถชนเสาไฟฟ้าและทรัพย์สินชิ้นอื่น ๆ ของรัฐ มีค่าปรับเท่าไหร่ และประกันช่วยอะไรได้บ้าง

ขับรถชนเสาไฟฟ้า ประกันจ่ายมั้ย

การขับรถชนทรัพย์สินของรัฐไม่ว่าจะเป็น ขับรถชนป้ายทางหลวง เสาไฟฟ้า แบริเออร์ ทุกอย่างภาครัฐกำหนดค่าปรับเอาไว้อย่างชัดเจน ผู้ขับขี่ต้องรับผิดชอบค่าเสียหายทั้งหมด แต่ถ้ามีประกันภัยรถยนต์ก็ช่วยเคลียร์ค่าเสียหายให้ตามทุนประกัน โดยส่วนต่างผู้เอาประกันต้องจ่ายเองจำนวนหนึ่ง การชนแบบนี้นับเป็นอุบัติเหตุไม่มีคู่กรณี มีแค่ประกันชั้น 1 เท่านั้นชดเชยให้ได้ ส่วนประกันชั้น 2+, 2, 3+ และ 3 ไม่คุ้มครอง ผู้ขับขี่ต้องรับผิดชอบค่าปรับเองทั้งหมด 

ชนของหลวง โดนปรับเท่าไหร่

ชนของหลวง โดนปรับเท่าไหร่

ทรัพย์สินของรัฐตามถนนทุกชิ้นมีราคาต้องจ่ายเมื่อเราเป็นคนทำเสียหาย เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงความปลอดภัยและความรับผิดชอบ heygoody ยกมาให้ดูทั้งหมด 7 กรณีว่าเจ้าหน้าที่รัฐคิดค่าปรับยังไงบ้าง

ขับรถชนเสาไฟฟ้า

ขับรถชนเสาไฟฟ้าค่าปรับเริ่มต้นที่ 3,000 บาท สูงสุดถึง 1,000,000 บาท ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น ระดับความเสียหายของเสา ประเภทเสา อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเสา และพื้นที่ติดตั้ง นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ รวมในค่าปรับด้วย ทั้งค่ารื้อถอนเสาไฟฟ้าที่ชำรุด ค่าขนส่งเสาต้นใหม่คิดตามระยะทาง ค่าเดินสายไฟใหม่ ค่าหม้อแปลงไฟฟ้า ค่าแรงช่าง เป็นต้น ผู้ขับขี่ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และการไฟฟ้านครหลวง

ขับรถชนแบริเออร์

แบริเออร์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เพื่อกั้นหรือแบ่งถนนตามกำหนดของภาครัฐ ค่าปรับของแบริเออร์เริ่มต้นชิ้นละ 800 บาท สูงสุด 15,000 บาท ราคาขึ้นอยู่กับวัสดุและขนาดที่ผลิต มีทั้งแบริเออร์ขึ้นรูปพลาสติกและหล่อด้วยปูนซีเมนต์  

ขับรถชนป้ายทางหลวง

ขับรถชนป้ายทางหลวงหรือป้ายจราจร ต้องเสียค่าปรับชิ้นละ 1,000-3,000 บาท ให้กับกรมทางหลวง โดยค่าเสียหายขึ้นอยู่กับขนาดของป้ายและจำนวนป้ายที่เสียหายทั้งหมด

ขับรถชนต้นไม้หรือพุ่มไม้

ต้นไม้เป็นทรัพย์สินที่ดูแลโดยสำนักงานเขตหรือเทศบาลจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบ ค่าเสียหายเริ่มตั้งแต่ 2,000 บาทเป็นต้นไป เพราะส่วนใหญ่มีมูลค่าประเมินได้ยาก เช่น คุณค่าทางจิตใจของคนในชุมชน พันธุ์ของต้นไม้ อายุ เป็นต้น และค่าปรับขึ้นอยู่กับจำนวนต้นไม้ที่เสียหาย

ขับรถของหลวงประเภทอื่น ๆ

นอกจากเสาไฟฟ้า แบริเออร์ และต้นไม้ ยังมีของหลวงชนิดอื่นที่มีค่าปรับแต่มีอัตราไม่สูงมาก เพราะซื้อชิ้นใหม่มาแทนได้ทันที เช่น 

กรวยจราจร

กรวยจราจรมีค่าปรับอยู่ที่ 200-800 บาทต่อชิ้น ขึ้นอยู่กับขนาดและประเภทของกรวยจราจรที่ใช้งานในบริเวณนั้น

แผงกั้นจราจร

แผงกั้นจราจรมีค่าปรับอยู่ที่ 1,000-5,000 บาทต่อแผง ขึ้นอยู่กับประเภทของแผงกั้นจราจรที่ใช้งานในบริเวณนั้น

เสาล้มลุก

เสาล้มลุกมีค่าปรับอยู่ที่ 800-3,500 บาท ขึ้นอยู่กับขนาด และจำนวนเสาที่เสียหาย

ขับรถชนเสาไฟฟ้าและของหลวงต่อรองได้มั้ย

ปกติการขับรถชนของหลวงต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ฐาน “ทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์” ตามประมวลกฎหมายอาญาหมวดที่ 7 มาตรา 360 เมื่อขับรถชนทรัพย์สินของรัฐแนะนำว่าห้ามหนี ให้ติดต่อสำนักงานในท้องที่เพื่อปรึกษาเรื่องค่าใช้จ่ายก่อนดีกว่า หรือแจ้งประกันของเราให้ช่วยเคลียร์ เพราะบางหน่วยงานสามารถไกล่เกลี่ยเพื่อผ่อนจ่ายค่าปรับได้ตามความเหมาะสม เพราะถ้าหนีแล้วไม่จ่ายอาจเจอโทษหนักกว่าเดิมตามมาตรา 438 แห่งประมวลผลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และค่าเสียหายอาจสูงเกินค่าปรับไปหลายเท่าตัวได้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาล

ทำประกันภัยรถยนต์ขับไปไหนก็มั่นใจ

ทำประกันภัยรถยนต์ขับไปไหนก็มั่นใจ

ขับรถชนทรัพย์สินราชการยังไงก็มีความผิดอยู่แล้ว แต่ถ้ามีประกันภัยรถยนต์มาช่วยต่อรองให้ง่ายกว่าแน่นอน โดยเฉพาะประกันชั้น 1 ช่วยแบ่งเบาค่าปรับให้เบาลงได้ ถ้าให้ดีควรขับรถอย่างมีสติ ไม่ประมาท และจดจ่อกับทางข้างหน้า เพื่อลดความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุทุกรูปแบบ ใครกำลังมองหากรมธรรม์เคลมประกันรถยนต์ที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการ heygoody มาพร้อม 17 บริษัทประกันชั้นนำ เบี้ยประกันถูก แถมผ่อน 0% ได้ด้วย สนใจซื้อประกันรถติดต่อเราได้เลย

ที่มาของข้อมูล : กรมทางหลวง และ PEA

แชร์
ไปเลือกประกันรถยนต์กัน!
แค่กรอกข้อมูลง่าย ๆ แล้วให้ heygoody เสนอแผนที่เหมาะกับคุณ
เช็คราคาเบี้ย
ไปเลือกประกันรถยนต์กัน!
แค่กรอกข้อมูลง่าย ๆ แล้วให้ heygoody เสนอแผนที่เหมาะกับคุณ
เช็คราคาเบี้ย
แชร์
แชร์
chevron-down