ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์เตรียมตัวยังไง ถ้าขาดต่อผิดกฎหมายมั้ย

329 คน
แชร์
ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์เตรียมตัวยังไง ถ้าขาดต่อผิดกฎหมายมั้ย

คนใช้รถทุกคันคงไม่มีใครไม่รู้จัก พ.ร.บ. รถยนต์ เพราะเป็นหลักประกันที่ภาครัฐบังคับให้ทุกคนต้องทำตามที่กฎหมาย พ.ร.บ. จราจร พ.ศ. 2522 ระบุไว้ เพื่อช่วยคุ้มครองผู้ขับขี่และคู่กรณีจากอุบัติเหตุจราจร ทั้งความเสียหายต่อร่างกาย สูญเสียอวัยวะ พิการถาวร และเสียชีวิต สำหรับเหล่ากู๊ดดี้มือใหม่อาจยังไม่รู้ว่าการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ต้องทำอะไรบ้าง และได้ขาดต่อนาน ๆ ผิดกฎหมายมั้ย วันนี้ heygoody มีคำตอบ

พ.ร.บ. รถยนต์ขาดมีโทษอะไรบ้าง

กรณีขับรถยนต์ที่ พ.ร.บ. ขาดต่อหรือหมดอายุแล้วเจอเจ้าหน้าที่เรียกตรวจมีโทษปรับสูงสุด 10,000 บาท ถ้าต่อแล้วแต่ไม่ติดป้ายสี่เหลี่ยมที่กระจกหน้ามีโทษปรับ 1,000 บาท มากไปกว่านั้น ยังเสียโอกาสรับความคุ้มครองตามที่ควรจะได้ ดังนี้

  • ค่ารักษาพยาบาลตามจริง 30,000 บาท/คน ถ้าเป็นฝ่ายถูกได้เพิ่มอีก 80,000 บาท/คน
  • ชดเชยกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือพิการ 35,000 บาท/คน ถ้าเป็นฝ่ายถูกได้เพิ่มอีกสูงสุด 500,000 บาท/คน
  • ชดเชยกรณีบาดเจ็บ และต่อมาสูญเสียอวัยวะ 65,000 บาท/คน
  • ชดเชยกรณีเสียชีวิตหลังเข้ารับการรักษา 65,000 บาท/คน 
  • ชดเชยรายวันกรณีรักษาในโรงพยาบาลและเป็นฝ่ายถูก 200 บาท/วัน (รวมไม่เกิน 20 วัน)

ถ้าไม่อยากเสียโอกาสและโดนโทษ เหล่ากู๊ดดี้สามารถต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ล่วงหน้าได้มากถึง 90 วัน พร้อมต่อภาษีรถยนต์ได้เลย ป้องกัน พ.ร.บ. ขาดโดยไม่ได้ตั้งใจ 

ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ต้องเตรียมอะไรบ้าง

ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ต้องเตรียมอะไรบ้าง

การต่อ พ.ร.บ. รถยนต์มีหลายสิ่งที่ต้องเตรียมไม่ว่าจะเป็นเอกสาร ค่าใช้จ่าย และสถานที่ซื้อ พ.ร.บ. มีรายละเอียด ดังนี้

ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ใช้อะไรบ้าง

  • บัตรประจำตัวประชาชน
  • สมุดคู่มือจดทะเบียนรถ

ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์เสียกี่บาท

อัตราค่าเบี้ย พ.ร.บ. รถยนต์เป็นแบบคงที่ไม่มีการปรับขึ้น โดยแยกราคาตามประเภทรถดังนี้

  • รถจักรยานยนต์
    • เครื่องยนต์ไม่เกิน 75 ซีซี 150 บาท
    • เครื่องยนต์ไม่เกิน 125 ซีซี 300 บาท
    • เครื่องยนต์ไม่เกิน 150 ซีซี 400 บาท
    • เครื่องยนต์เกิน 150 ซีซี 600 บาท
  • รถยนต์
    • รถยนต์นั่งไม่เกิน 7 ที่นั่ง 600 บาท
    • รถยนต์โดยสารเกิน 7 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 15 ที่นั่ง 1,100 บาท (รถสาธารณะ 2,320 บาท)
    • รถยนต์โดยเกิน 15 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 20 ที่นั่ง 2,050 บาท (รถสาธารณะ 3,480 บาท)
    • รถยนต์โดยเกิน 20 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 40 ที่นั่ง 3,200 บาท (รถสาธารณะ 6,660 บาท)
    • รถยนต์โดยเกิน 40 ที่นั่ง 3,740 บาท (รถสาธารณะ 7,520 บาท)
  • รถไฟฟ้า
    • รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า 300 บาท
    • รถสามล้อไฟฟ้า 500 บาท
    • รถยนต์ไฟฟ้านั่งไม่เกิน 7 คน 600 บาท

*อัตราค่าเบี้ยทั้งหมดยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%

ซื้อ พ.ร.บ. รถยนต์ที่ไหนได้บ้าง

  • ซื้อกับกรมขนส่งทางบกทุกสาขา
  • ซื้อผ่านจุดบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิส และ 7-Eleven
  • ซื้อทางออนไลน์กับบริษัทประกันและโบรกเกอร์ชั้นนำ

ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์แล้วต้องทำประกันมั้ย

จริงอยู่ ที่ พ.ร.บ. รถยนต์เป็นประกันภัยภาคบังคับต้องทำทุกคัน แต่ความคุ้มครองถูกจำกัดอยู่แค่ตัวบุคคลเท่านั้น ควรมีประกันรถยนต์เสริมเข้ามาเพื่อครอบคลุมความเสียหายต่อตัวรถและทรัพย์สิน เวลาเคลมค่ารักษาพยาบาลและค่าสินไหมทดแทนอื่น ๆ จะได้รับชดเชย 2 ต่อระหว่างกรมธรรม์ประกันรถยนต์และ พ.ร.บ.

ไม่ใช่เจ้าของรถ เบิก พ.ร.บ. ได้มั้ย

กรณีผู้ขับขี่ไม่ใช่เจ้าของรถแล้วเกิดอุบัติเหตุ “เบิก พ.ร.บ. ได้” เพราะให้ความคุ้มครองผู้ประสบภัยบนท้องถนนทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นคนขับ ผู้โดยสาร และคู่กรณี มีสิทธิ์เบิกค่ารักษาพยาบาลและชดเชยต่าง ๆ ได้เต็มจำนวนตามจริง

ทำประกันพร้อมต่อ พ.ร.บ. รถยนต์กับ heygoody คุ้มกว่า

ทำประกันพร้อมต่อ พ.ร.บ. รถยนต์กับ heygoody คุ้มกว่า 

การต่อ พ.ร.บ. รถยนต์คือเรื่องสำคัญที่คนใช้รถมองข้ามไม่ได้ เพราะไม่มีใครคาดเดาได้ว่าอุบัติเหตุจะเกิดขึ้นกับเราเองและคนใกล้ตัวเมื่อไหร่ ถ้ารู้ตัวว่าใกล้ถึงกำหนดต้องต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ heygoody แนะนำว่าให้รีบจัดการตั้งแน่เนิ่น ๆ จะได้ไม่เสียสิทธิ์การคุ้มครองชีวิตไปแบบฟรี ๆ

ใครกำลังมองหาประกันภัยรถยนต์ตอบโจทย์ทุกความต้องการ พ่วงกับ พ.ร.บ. แบบครบจบ heygoody โบรกเกอร์ประภันภัยออนไลน์ พร้อมให้บริการด้วยกรมธรรม์จากบริษัทชั้นนำของไทยตั้งแต่ชั้น 1-3 รับความคุ้มครอง 2 ต่อทั้งกรมธรรม์และ พ.ร.บ. ผ่อน 0% นานสุด 10 เดือน 

ที่มาของข้อมูล : กรมการขนส่งทางบก และ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด

แชร์
ไปเลือกประกันรถยนต์กัน!
แค่กรอกข้อมูลง่าย ๆ แล้วให้ heygoody เสนอแผนที่เหมาะกับคุณ
เช็คราคาเบี้ย
ไปเลือกประกันรถยนต์กัน!
แค่กรอกข้อมูลง่าย ๆ แล้วให้ heygoody เสนอแผนที่เหมาะกับคุณ
เช็คราคาเบี้ย
แชร์
แชร์
chevron-down