เคยเป็นมั้ย? จอดรถไว้ดี ๆ แต่กลับมาอีกที รถดันมีรอยบุบ รอยเฉี่ยวชนซะงั้น! ซวยซ้ำซ้อนแบบนี้ เรียกร้องอะไรได้บ้าง? หลายคนคงเคยเจอประสบการณ์แบบนี้ ทำเอาเสียทั้งเวลา เสียทั้งเงิน แต่เหล่ากู๊ดดี้รู้มั้ยว่า กรณีแบบนี้ เราสามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากคู่กรณีได้นะ! มาดูไปพร้อมกันว่า รถจอดอยู่แล้วโดนชนเรียกร้องอะไรได้บ้าง?
ขอแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย ดังนี้
ตามกฎหมายแล้ว ฝ่ายถูกชนมักถูกตัดสินให้เป็นฝ่ายถูก เพราะเป็นผู้ได้รับความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์จากความประมาทของผู้อื่น ไม่ว่าจะจอดรถอยู่ในพื้นที่ที่สามารถจอดได้ หรือพื้นที่ห้ามจอดตามกฎหมาย แต่ถ้าจอดในพื้นที่ห้ามจอดที่มีป้ายจราจรกำกับชัดเจนอาจมีความผิดตามกฎหมาย ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท และโดนตัดคะแนนความประพฤติในการขับรถ 1 คะแนน
ส่วนอีกกรณี ถ้าฝ่ายถูกชนจอดรถในลักษณะที่เสี่ยงต่อการถูกเฉี่ยวชนโดยง่าย เช่น จอดในจุดอับสายตา จอดกีดขวางจราจร อาจถูกพิจารณาให้มีความผิดฐานประมาทร่วมด้วยได้ ต้องระวังให้ดีนะ
ในทางตรงกันข้าม ถ้าถอยรถชนรถคนอื่น ฝ่ายที่เป็นคนชนจะถูกตัดสินให้เป็นฝ่ายผิดเสมอ เพราะเป็นผู้ที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินผู้อื่นจากความประมาทเลินเล่อของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการขับรถชน หรือถอยรถชนรถที่จอดอยู่แล้วในพื้นที่สำหรับจอด หรือพื้นที่ห้ามจอดก็ตาม ฝ่ายชนต้องชดใช้ค่าเสียหายให้กับรถคันที่จอดอยู่
อยากรู้ว่า รถโดนชนเรียกร้องอะไรได้บ้าง? heygoody สรุปมาให้แล้ว ตามนี้เลย
ถ้าเจ้าของรถที่ถูกชนได้รับบาดเจ็บ ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ หรือ พ.ร.บ. จะให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาล รวมแล้วไม่เกิน 65,000 บาท และค่าปลงศพแล้วแต่กรณี โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ถูกหรือผิด สามารถเบิกได้เลย ไม่ต้องกังวล
ถ้าทรัพย์สินส่วนตัวภายในรถ เช่น โทรศัพท์ แท็บเล็ต โน้ตบุ้ค กระเป๋า หรืออื่น ๆ เสียหายจากการโดนรถชน ฝ่ายที่ถูกชนสามารถเรียกร้องค่าเสียหายต่อทรัพย์สินโดยตรงจากคู่กรณี โดยบริษัทประกันของคู่กรณีจะจ่ายค่าชดเชยให้ตามความเหมาะสม
ฝ่ายถูกชนสามารถเรียกค่าเสียหายต่อตัวรถยนต์จากคู่กรณีได้ โดยบริษัทประกันของคู่กรณีจะเป็นผู้รับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้น และจะออกใบเคลมเป็นค่าซ่อมรถให้ แต่ถ้าคู่กรณีไม่มีประกัน สามารถเรียกค่าเสียหายจากคู่กรณีได้เลย แต่อาจจะต้องแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจไว้เป็นหลักฐานประกอบด้วย
กรณีที่รถโดนชนจนไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ตามปกติ บริษัทประกันของคู่กรณีจะต้องชดเชยค่าเคลื่อนย้ายรถโดยรถยก หรือรถลาก เพื่อเคลื่อนย้ายรถออกจากพื้นที่จราจร แล้วนำไปส่งยังศูนย์ซ่อม หรือศูนย์บริการรถยนต์
ไม่มีรถใช้ เพราะอยู่ในระหว่างรอซ่อม ตรงนี้สามารถเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถกับบริษัทประกันของฝ่ายผิดได้ บริษัทประกันจะพิจารณาและประเมินความเสียหายตามกฎเกณฑ์ แต่ถ้ารถคู่กรณีไม่มีประกัน ผู้เสียหายต้องเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถจากคู่กรณีโดยตรง แนะนำให้แจ้งความเป็นหลักฐาน และทำหนังสือระบุเป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจนว่า ต้องจ่ายเท่าไหร่? ต้องจ่ายภายในวันไหน? เพื่อป้องกันการโดนเบี้ยวนั่นเอง
ต้องบอกก่อนว่า ค่าทำขวัญไม่ได้มีระบุไว้ในกฎหมาย แต่ถ้าอยากเรียก ก็เรียกได้ตามความเหมาะสม บางคนอาจจะเรียกเป็นค่าตกใจ ค่าเสียเวลารอประกัน ซึ่งคู่กรณีสามารถเลือกได้ว่า จะจ่ายหรือไม่จ่าย แต่ส่วนใหญ่จะจ่ายในรูปแบบของค่าเสียหายตามเงื่อนไขกรมธรรม์แทน เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าเสียหายต่อตัวรถยนต์และทรัพย์สิน เป็นต้น
รถจอดอยู่แล้วโดนชน แต่คู่กรณีหาย หรือโดนชนแล้วหนี ถ้าเป็นรถที่ทำประกันชั้น 1 สามารถเคลมได้เลย เพราะประกันชั้น 1 ให้ความคุ้มครองทั้งรถชนรถแบบมีคู่กรณี และไม่มีคู่กรณี แต่ถ้าเป็นรถที่ทำประกันชั้น 2+ และ 3+ ต้องเป็นการชนแบบมีคู่กรณี หรือมีหลักฐานระบุเลขทะเบียนรถของคู่กรณี จึงจะสามารถแจ้งเคลมได้ ดังนั้น ถ้าไม่อยากวุ่นวายเรื่องคู่กรณีหาย จับมือใครดมไม่ได้ แนะนำประกันชั้น 1 เลย เคลมได้หายห่วง!
ไม่อยากโดนปรับ หรือโดนล็อกล้อ รีบเช็คพื้นที่ห้ามจอดรถตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 57 ด้านล่างนี้ได้เลย
ไขข้อสงสัยกันไปแล้วว่า รถโดนชนท้ายเรียกร้องอะไรได้บ้าง? ยังไงก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน สิ่งสำคัญที่สุด คือต้องมีสติในการขับขี่ เลือกที่จอดรถให้ถูกต้อง และปฏิบัติตามกฎหมายจราจรอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ควรทำประกันรถยนต์เอาไว้เพื่อความอุ่นใจ โดยเฉพาะประกันชั้น 1 เพราะจะได้รับความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้น ทั้งรถชนรถแบบมีคู่กรณี และไม่มีคู่กรณี
สนใจลองแวะมาเช็คค่าเบี้ยที่เว็บไซต์ heygooy เรารวบรวมประกันรถยนต์ให้เลือกได้ครบ ทั้งประกันรถน้ำมัน และประกันรถไฟฟ้า ถูกใจเจ้าไหน กดซื้อเองได้ตลอด 24 ชม. การันตีถูกกว่าซื้อตรงกับบริษัประกันชัวร์!
ที่มา : sanook