กระแสรถยนต์ไฟฟ้าแรงดีไม่มีตกแบบนี้ หลายคนคงเริ่มมีเป็นของตัวเองสักคัน แต่ก่อนตัดสินใจซื้อ รู้มั้ยว่า รถยนต์ไฟฟ้าแบ่งย่อยออกเป็นประเภทต่าง ๆ อีก วันนี้ heygoody จะพาไปดูกันว่า รถยนต์ไฟฟ้าแบ่งออกเป็นกี่ประเภทอะไรบ้าง? แต่ละประเภทมีจุดเด่น และข้อจำกัดยังไง? อ่านจบแล้วร้องอ๋อแน่นอน!
รถยนต์ไฟฟ้ามีด้วยกัน 4 ประเภท ได้แก่ รถยนต์ไฮบริด (HEV) รถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) รถยนต์แบตเตอรี่ (BEV) และรถยนต์เซลล์เชื้อเพลิง (FCEV) แต่ละประเภทต่างกันยังไง? ไปดูรายละเอียดด้านล่างนี้เลย
รถยนต์ไฮบริด (Hybrid Electric Vehicle) หรือรถ HEV คือรถยนต์ไฟฟ้าพลังงานผสม ที่ทำงานร่วมกันระหว่าง เครื่องยนต์สันดาปภายใน และมอเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งการใช้พลังงานไฟฟ้ามาช่วยขับเคลื่อนนี่แหละ ทำให้รถยนต์ HEV ประหยัดน้ำมันมากกว่ารถยนต์ทั่วไป
รถยนต์ HEV มีระบบเบรกเพื่อชาร์จไฟ (Regenerative Braking) หรือการสนับสนุนการเบรกแบบผันกลับเพื่อสำรองพลังงานในรูปแบบพลังงานไฟฟ้า อธิบายง่าย ๆ คือมีการเปลี่ยนพลังงานจากการเบรกและการชะลอความเร็วมาเป็นพลังงานไฟฟ้าเก็บในแบตเตอรี่ ทำให้ไม่ต้องเสียบปลั๊กเพื่อชาร์จไฟนั่นเอง
ตัวอย่างรถยนต์ HEV ที่วางจำหน่ายในไทย
รถยนต์ PHEV (Plug-in Hybrid Vehicle) หรือที่เรียกกันว่า รถยนต์ Plug In Hybrid คือรถยนต์ HEV เวอร์ชันอัปเกรด โดยเพิ่มระบบเสียบปลั๊กชาร์จเพื่อให้ชาร์จไฟจากภายนอกได้ ส่วนระบบการทำงานยังคงผสมผสานการทำงานระหว่างเครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้าเหมือนเดิม
ตัวอย่างรถยนต์ PHEV ที่วางจำหน่ายในไทย
ความแตกต่างของ HEV และ PHEV คือระบบการชาร์จไฟฟ้า โดยรถยนต์ HEV จะชาร์จไฟฟ้าจากการเบรกและการชะลอความเร็ว ส่วนรถยนต์ PHEV สามารถชาร์จจากจุดชาร์จไฟได้ แต่หลักการทำงานยังคงทำงานร่วมกันของเครื่องยนต์สันดาปและมอเตอร์ไฟฟ้าเหมือนกัน
รถยนต์แบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle) หรือรถ BEV คือรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขับเคลื่อน !00% ไม่ต้องใช้น้ำมันหรือเชื้อเพลิงอื่น ๆ ทำให้รถยนต์ BEV ไม่มีการปล่อยควันพิษหรือมลพิษออกมาแม้แต่นิดเดียว เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสุด ๆ ที่สำคัญมีสถานีชาร์จให้บริการทั่วประเทศ
ตัวอย่างรถยนต์ BEV ที่วางจำหน่ายในไทย
รถยนต์เซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Electric Vehicle) หรือรถยนต์ FCEV คือรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานไฮโดรเจนในการผลิตพลังงานไฟฟ้า เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงขับเคลื่อนรถ ซึ่งหลายคนอาจคุ้นในชื่อ “รถพลังงานไฮโดรเจน” โดยไฮโดรเจนจะถูกเก็บในรูปของเหลว แล้วส่งไปยังเซลล์เชื้อเพลิง เมื่อไฮโดรเจนผสมกับออกซิเจน จะทำปฏิกิริยาและเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งจะถูกเก็บไว้ในแบตเตอรี่เพื่อนำไปใช้ขับเคลื่อนตัวรถต่อไป
ตัวอย่างรถยนต์ FCEV
ถ้าตัดสินใจได้แล้วว่าจะเลือกใช้รถยนต์ไฟฟ้าประเภทไหน มาดู 5 เช็คลิสต์ที่ต้องเตรียมพร้อมก่อนใช้รถยนต์ไฟฟ้ากันดีกว่า
ประกันรถยนต์ไฟฟ้ามีความคุ้มครองพิเศษสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าโดยเฉพาะ เช่น คุ้มครองเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน คุ้มครองแบตเตอรี่ คุ้มครองสายชาร์จ คุ้มครองบุคคลภายนอกกรณีเกิดอุบัติเหตุจากเครื่องชาร์จที่บ้าน หรือสถานีชาร์จสาธารณะ ขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัทประกัน ซึ่งทั้งหมดนี้ประกันรถยนต์ทั่วไปจะไม่มีนั่นเอง
อ่านมาถึงตรงนี้ เหล่ากู๊ดดี้คงได้คำตอบแล้วว่า รถไฟฟ้ามีกี่ประเภท? และมองเห็นภาพชัดขึ้นว่า แต่ละประเภทรถยนต์ไฟฟ้า ทั้ง HEV, PHEV, BEV และ FCEV ต่างกันยังไง? ซึ่งทั้ง 4 ประเภทมีจุดเด่นและข้อจำกัดแตกต่างกัน ลองชั่งน้ำหนักดู แล้วเลือกประเภทที่ตอบโจทย์การใช้งานมากที่สุด
หลังจากซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้งานแล้ว อย่าลืมทำประกันรถยนต์ด้วยนะ เพราะมีประกัน ก็เหมือนมีเพื่อนแท้คอยดูแลทั้งคนและรถเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน สำหรับใครที่ไม่รู้ว่าจะเลือกประกันรถไฟฟ้าที่ไหนดี? มาที่เว็บไซต์ heygoody ด่วน เรารวมประกันรถไฟฟ้าจากบริษัทประกันชั้นนำไว้ให้เปรียบเทียบแล้ว สามารถเช็คราคาและกดซื้อเองได้ 24 ชม.
ที่มา : AUTOSPINN, เฮงลิสซิ่ง และ Panda Star Oil