หัวชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ามีกี่แบบ และต่างกันยังไง

974 คน
แชร์
หัวชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ามีกี่แบบ และต่างกันยังไง

รถยนต์ไฟฟ้า คือเทรนด์ใหม่ของตลาดยานยนต์ทั่วโลก ช่วยลดการใช้น้ำมัน รวมถึงช่วยลดการปล่อยมลพิษจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์สันดาป เพราะระบบมอเตอร์ไฟฟ้าไม่ปล่อยไอเสียออกมา แต่รู้มั้ยว่าหัวชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ามีหลายแบบ และมีระบบเก็บประจุไฟฟ้าแตกต่างกัน แล้วหัวชาร์จแต่ละแบบแตกต่างกันยังไง เลือกติดตั้งยังไงให้ถูกสเปกกับรถของเรา วันนี้ heygoody มีคำตอบให้กับทุกคน

วิธีชาร์จรถไฟฟ้า EV ในรถรุ่นปัจจุบัน

  • วิธีชาร์จแบบ Normal Charging คือสายชาร์จแบบมาตรฐานที่ติดมากับตัวรถ ไว้ใช้ยามฉุกเฉินเท่านั้น ชาร์จไฟฟ้าจาก 0-80% ใช้เวลาประมาณ 12-16 ชั่วโมงขึ้นอยู่กับความจุของแบตเตอรี่
  • วิธีชาร์จแบบ AC Charging คือการชาร์จไฟฟ้ากระแสสลับหรือกระแสไฟบ้าน ไฟฟ้าจะวิ่งผ่านส่วนที่เรียกว่า On Board Charging เพื่อแปลงเป็นไฟฟ้ากระแสตรงแล้วชาร์จเข้าไปยังแบตเตอรี่ เหมาะกับการชาร์จข้ามคืน และใช้กับไฟบ้านโดยตรง
  • วิธีชาร์จแบบ DC Charging คือการชาร์จไฟฟ้ากระแสตรงผ่านสถานีชาร์จไฟฟ้า จุดเด่นของการชาร์จแบบ DC คือไม่ต้องผ่าน On Board Charging ส่งกระแสไฟเข้าแบตเตอรี่ได้เลย ใช้เวลาชาร์จน้อยกว่าแบบ AC Charging เฉลี่ย 40-60 นาทีก็เกือบเต็มแล้ว

หัวชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ามีกี่แบบ

หัวชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ามีกี่แบบ

หัวชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า EV ตอนนี้มีทั้งหมด 3 ประเภทหลัก ๆ คือ หัวชาร์จแบบธรรมดา, หัวชาร์จแบบ Double Speed Charger และหัวชาร์จแบบ Quick Charger ทั้ง 3 แบบมีประเภทแยกย่อยลงไปอีก ดังนี้เลย

1.หัวชาร์จแบบธรรมดา (Normal Charger)

หัวชาร์จรถไฟฟ้า AC หรือกระแสสลับแบบ Normal Charger คือสายที่ออกแบบให้ต่อจากเต้ารับไฟฟ้าในบ้านโดยตรง ข้อจำกัดคือมิเตอร์ไฟฟ้าต้องเป็น 15 (45)A และต้องใช้เต้ารับที่รองรับกับตัวปลั๊กของหัวชาร์จโดยเฉพาะ ทำให้ใช้เวลาชาร์จนานกว่า 12-16 ชั่วโมงถึงจะเต็มความจุของแบตเตอรี่ หัวชาร์จรถไฟฟ้าแบบธรรมดามี 2 แบบคือ

หัวชาร์จ Type 1

หัวชาร์จรถไฟฟ้า Type 1 นิยมใช้ในกลุ่มทวีปอเมริกาเหนือและประเทศญี่ปุ่น หัวต่อแบบ 5 Pin ใช้กระแสไฟฟ้า AC แบบ Single-Phase รองรับกระแสไฟฟ้า 32 A / 250 V 

หัวชาร์จ Type 2

หัวชาร์จรถไฟฟ้า Type 2 นิยมใช้ในกลุ่มทวีปยุโรปและประเทศในเอเชีย หัวต่อแบบ 7 Pin ใช้กระแสไฟฟ้า AC แบบ Single-Phase รองรับกระแสไฟฟ้า 70A / 250V และ 3 Phase 63A / 480 V

2.หัวชาร์จแบบ Double Speed Charger หรือแบบ Wall Box

หัวชาร์จรถไฟฟ้า AC หรือกระแสสลับแบบ Double Speed Charger หรือการชาร์จจากเครื่อง Wall Box นิยมติดตั้งไว้ที่บ้านเป็นหลัก มีความปลอดภัยมากกว่าหัวชาร์จรถไฟฟ้า Normal Charger และใช้เวลาชาร์จน้อยกว่าเฉลี่ย 4-7 ชั่วโมงขึ้นอยู่กับขนาดของ Wall Box และความจุแบตเตอรี่ โดยมีหัวชาร์จ 2 แบบคือ

หัวชาร์จ Type 1

เป็นหัวชาร์จ Type 1 ใช้กับรถยนต์ไฟฟ้าในกลุ่มทวีปอเมริกาเหนือและประเทศญี่ปุ่น ใช้กระแสไฟฟ้า AC แบบ Single-Phase รองรับกระแสไฟฟ้า 16A, 40A และ 48A / 240 V 

หัวชาร์จ Type 2

เป็นหัวชาร์จ Type 2 ใช้กับรถยนต์ไฟฟ้าในกลุ่มทวีปยุโรปและประเทศอื่น ๆ ในเอเชีย ใช้กระแสไฟฟ้า AC แบบ 3 Phase รองรับกระแสไฟฟ้า 16A และ 32 A / 250 V 

3.หัวชาร์จแบบชาร์จเร็ว (Quick Charger)

สุดท้ายเป็นหัวชาร์จรถไฟฟ้ากระแสตรงหรือ DC Charging เหมาะกับผู้ที่ต้องการชาร์จในเวลาเร่งด่วนจาก 0-80% ภายใน 40-60 นาที มีหัวชาร์จทั้งหมด 3 แบบคือ

หัวชาร์จ CHAdeMO

หัวชาร์จ CHAdeMO (CHArge de MOve) รองรับกระแสไฟฟ้า 200A / 600V จุดเด่นคือชาร์จไฟแล้วขับต่อได้ทันที นิยมใช้ในประเทศญี่ปุ่น

หัวชาร์จ GB/T

หัวชาร์จ GB/T เป็นนวัตกรรมจากจีนแผ่นดินใหญ่ และพัฒนาขึ้นมาเพื่อตอบรับความนิยมของผู้ใช้รถไฟฟ้าที่มากขึ้น มีทั้งแบบ AC และ DC 

  • แบบ AC รองรับกระแสไฟฟ้า 10A, 16A และ 32A / 250-440V
  • แบบ DC รองรับกระแสไฟฟ้า 80A, 125A 200A และ 250A / 750-1,000V

หัวชาร์จ CSS

หัวชาร์จ CSS (Combined Charging System) เป็นนวัตกรรมที่นำ AC Charging มาเพิ่มหัวต่ออีก 2 Pin เพื่อให้รองรับการชาร์จแบบ DC Charging ได้ มีทั้งหมด 2 แบบคือ

  • CSS Type 1 นิยมใช้ในกลุ่มทวีปอเมริกาเหนือและประเทศญี่ปุ่น รองรับกระแสไฟฟ้า 200A / 600V 
  • CSS Type 2 นิยมใช้ในกลุ่มทวีปยุโรปและประเทศอื่น ๆ ในเอเชีย รองรับกระแสไฟฟ้า 200A / 1000V 

ติดตั้งหัวชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้านต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง

การติดตั้งหัวชาร์จรถไฟฟ้าทุกประเภท ต้องให้ความสำคัญกับอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมด 6 สิ่งดังนี้

  • ควรใช้มิเตอร์ไฟบ้านขนาด 30A (30/100) ขึ้นไป หรือถ้าเป็นมิเตอร์ 3 Phase ต้องใช้ขนาด 15/45 ขึ้นเพื่อให้มีกำลังไฟเพียงพอสำหรับชาร์จไฟฟ้าเข้าสู่ Wall box
  • ใช้สายไฟเมนขนาด 25 ตารางมิลลิเมตร และต้องมีตู้ Main Circuit Breaker (MCB) ที่รองรับกระแสไฟฟ้าได้ไม่เกิน 100A
  • ติดตั้งตู้ควบคุมไฟฟ้า MDB เพื่อแยกช่องจ่ายไฟออกจากกัน และต้องมีช่องว่างที่รองรับกระแสไฟฟ้าของ Wall Box ได้เพียงพอ
  • ติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่ว RDC เพื่อช่วยควบคุมกระแสไฟฟ้าเมื่อเกิดการไหลเข้าออกไม่เท่ากัน RDC จะทำหน้าที่ตัดไฟอัตโนมัติ แต่ถ้าระบบชาร์จไฟฟ้ารุ่นไหนที่มีระบบ RDC อยู่ในตัวก็ไม่จำเป็นต้องติดเพิ่ม
  • เต้ารับไฟฟ้าควรใช้แบบ 3 รู และต้องแยกสายหลักดินออกจากระบบไฟฟ้าในบ้าน สายหลักดินต้องมีฉนวนหุ้มไม่ต่ำกว่า 10 ตารางมิลลิเมตร และต้องมีขนาด 16 มิลลิเมตร ยาว 2.4 เมตร ขึ้นไป
  • ตำแหน่งการติดตั้งตู้ชาร์จควรอยู่ในระยะห่างจากรถไม่เกิน 5 เมตร และต้องเป็นที่ร่มไม่โดนแดดและไม่ตากฝน เพื่อความปลอดภัยเวลาใช้งาน

ขับรถยนต์ไฟฟ้า ทำประกันไว้อุ่นใจกว่า

ขับรถยนต์ไฟฟ้า ทำประกันไว้อุ่นใจกว่า

ความแพร่หลายของรถยนต์ไฟฟ้าในไทยเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ และมีแนวโน้มได้รับความนิยมมากขึ้นไปอีก แต่ในปัจจุบันค่าซ่อม ค่าบริการก็ยังมีราคาสูงพอสมควร ถ้าต้องจ่ายเองสู้ทำประกันรถยนต์ไฟฟ้ายังไงก็ดีกว่า ค่าเบี้ยถูกเริ่มต้นปีละ 19,000 บาทเท่านั้น เลือกแผนกรมธรรม์โดนใจกับ heygoody มาพร้อมบริษัทชั้นนำมากกว่า 17 ราย โปรโมชันจัดเต็ม เลือกผ่อน 0% ได้นานสุด 10 เดือน สนใจซื้อประกันกับเราติดต่อได้เลย

ที่มาของข้อมูล : autospinn

แชร์
ไปเลือกประกันรถยนต์กัน!
แค่กรอกข้อมูลง่าย ๆ แล้วให้ heygoody เสนอแผนที่เหมาะกับคุณ
เช็คราคาเบี้ย
ไปเลือกประกันรถยนต์กัน!
แค่กรอกข้อมูลง่าย ๆ แล้วให้ heygoody เสนอแผนที่เหมาะกับคุณ
เช็คราคาเบี้ย
แชร์
แชร์

12 รางวัลAward

การันตีความสำเร็จ จากเวทีระดับโลก

ดูรางวัลทั้งหมด
Insure Tech Connect Asia

Insure Tech Connect Asia

Brokerage Breakthrough and Data Analytics Master Awards - 2024

Global Retail Banking Innovation

Global Retail Banking Innovation

Best Customer Centric Business Model - 2024

New York Festivals Awards 2024

New York Festivals Awards 2024

Bronze หมวดหมู่ Insurance - 2024

The Work 2024

The Work 2024

Film/TV Craft · Film/Web Film · Culture · Work for Good · Branded Content + Entertainment - 2024

Thailand Influencer Awards 2024 by Tellscore

Thailand Influencer Awards 2024 by Tellscore

Best Financial & Investment Influencer Campaign - 2024

chevron-down